ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รพินทรนาถ ฐากูร

รพินทรนาถ ฐากุร (เบงกาลี: ??????????? ?????, Robindronath ?hakur) (7 พฤษภาคม 2404 - 7 สิงหาคม 2484) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี เขาเริ่มเขียนบทกวีครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานกวีนิพนธ์ภายใต้นามปากกา ภาณุสิงโห และเริ่มเขียนเรื่องสั้นกับบทละครในปี พ.ศ. 2420 ในช่วงปลายของชีวิต รพินทรนาถต่อต้านการปกครองของรัฐบาลอังกฤษอย่างเปิดเผย และร่วมเคลื่อนไหวการประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย ผลงานของเขาที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากงานกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง ยังมีสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยวิศวภารตี

รพินทรนาถเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง ละครเพลง และเรียงความมากมายที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองการปกครอง และเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1913 นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล

รพินทรนาถ ฐากุร เกิดที่คฤหาสน์โชราสังโก นครกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ ตระกูลฐากุร ซึ่งเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดตระกูลหนึ่งในแคว้นเบงกอล และไม่ได้มั่งคั่งแต่เพียงทรัพย์สมบัติเท่านั้น หากยังเพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญาอีกด้วย กล่าวคือ ผู้สืบสกุลฐากุรหลายคน ได้บำเพ็ญกรณียกิจนานาประการ โดยเฉพาะกิจการด้านวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นตระกูลที่ดื่มด่ำในวัฒนธรรมอินเดีย มีความเลื่อมใสต่อลัทธิที่ภักดีต่อพระวิษณุเจ้าเป็นพิเศษ

รพินทรนาถเป็นบุตรคนที่ 14 ในจำนวน 15 คนของ มหาฤๅษีเทเพนทรนาถ ฐากุร ซึ่งให้ความสนใจศึกษาของบุตรคนเล็กมาก เมื่อรพินทรนาถอายุได้ 11 ปี หลังจากประกอบพิธีสวมด้ายมงคลยัชโญปวีตตามแบบศาสนาพราหมณ์ให้แล้ว ท่านบิดาก็พาบุตรคนเล็กเดินธุดงค์ไปยังเมืองอมฤตสาร์ และเทือกเขาหิมาลัยเป็นเวลาหลายเดือน กล่าวได้ว่าทัศนะทางด้านศาสนาของรพินทรนาถนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากบิดามากทีเดียว รวมทั้งนิสัยที่ชอบเดินทาง นอกจากท่องเที่ยวในประเทศแล้ว ท่านยังได้ไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา 5 ครั้ง ยุโรป 5 ครั้ง ญี่ปุ่น 3 ครั้ง และที่จีน อเมริกาใต้ สหภาพโซเวียต และเอเชียอาคเนย์แห่งละครั้ง

ความสามารถในเชิงการเขียนของท่านเกิดขึ้นเมื่ออายุ 14 ปี รพินทรนาถเขียนเพลงปลุกใจ พาดพิงถึงงานมหกรรมเดลฮีเดอร์บาร์ โดยดำริของลอร์ด ลิททัน ด้วยท่าทีเย้ยหยัน เพราะเป็นความสนุกสนานท่ามกลางภาวะขาดแคลนของประเทศในขณะนั้น ความโด่งดังของรพินทรนาถทำให้ได้รับสมญานามว่า "เกอเธ่แห่งอินเดีย"

ปี พ.ศ. 2421 รพินทรนาถเข้าศึกษาที่โรงเรียนไบรตัน ประเทศอังกฤษ ด้วยความตั้งใจจะเป็นเนติบัณฑิต ต่อมาจึงได้เข้าเรียนกฎหมายที่ University College London แต่เรียนไม่จบและกลับมายังเบงกอลในปี พ.ศ. 2423 วันที่ 9 ธันวาคมปีเดียวกันนั้น รพินทรนาถสมรสกับ มฤณาลิณี เทวี (พ.ศ. 2416-พ.ศ. 2443) มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 5 คน เป็นบุตรชาย 2 คน บุตรสาว 3 คน (ภายหลังเสียชีวิตไป 2 คน) รพินทรนาถพาครอบครัวไปตั้งรกรากในเขตที่ดินมรดกของตระกูลที่ Shilaidaha ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศบังกลาเทศ มีรายได้จากการเก็บค่าเช่าพออยู่ได้อย่างสบาย ช่วงนี้ท่านตั้งอกตั้งใจรังสรรค์งานออกมาชิ้นแล้วชิ้นเล่า ทั้งบทละครที่ท่านร่วมแสดง หรือแม้กระทั่งบทกวีที่ใช้กล่อมเด็ก ผลงานประมาณครึ่งหนึ่งของ Galpaguchchha ท่านก็ได้เขียนขึ้นในช่วงเวลานี้ ภรรยาของท่านได้ถึงแก่กรรมก่อนหลังจากใช้ชีวิตร่วมกันได้ 19 ปี

ในช่วงปลายของชีวิตเมื่ออายุ 70 ปี รพินทรนาถได้เริ่มเขียนภาพ ภายในเวลา 10 ปีท่านเขียนได้ถึง 3,000 ภาพ และได้นำผลงานเหล่านี้ไปแสดงตามที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศอินเดีย รวมทั้งที่ปารีสด้วย

ในช่วงสิบปีสุดท้ายของชีวิต รพินทรนาถยังคงดำเนินกิจกรรมทางสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง ท่านได้เรียบเรียงงานเขียนต่างๆ ออกมาได้เป็นหนังสือ 15 เล่ม ในจำนวนนี้รวมถึงงานเขียน Punashcha (2475) Shes Saptak (2478) และ Patraput (2479) ท่านยังทดลองสร้างผลงานแนวใหม่ๆ เช่นบทเพลงร้อยแก้ว และละครเต้นรำ เขียนนวนิยายเพิ่มอีกหลายเรื่องเช่น Dui Bon (2476) Malancha (2477) และ Char Adhyay (2477) นอกจากนี้ รพินทรนาถยังให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้ปรากฏแทรกอยู่ในบรรดางานกวีนิพนธ์ของท่านด้วย แสดงให้เห็นถึงความเคารพนบน้อมต่อธรรมชาติ

ฐากุรได้กลับมาถึงแก่กรรมที่คฤหาสน์หลังเดิมที่ตนเคยพำนักในวัยเยาว์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2484 รวมอายุ 80 ปี 3 เดือน

ผลงานของท่านนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากบทร้อยกรองกับบทละครซึ่งมีอยู่ถึงหนึ่งหมื่นห้าพันบรรทัด ยังมีวรรณกรรมประเภท นวนิยาย เรื่องสั้น อัตชีวประวัติ บทวิจารณ์ และบทความ นานาชนิด

ปี พ.ศ. 2455 รพินทรนาถได้แปลบทกวีนิพนธ์ที่เขียนอุทิศให้แก่ภรรยาและบุตร 3 ใน 5 คนที่เสียชีวิตไปเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรวบรวมนำมาพิมพ์เป็นเล่มให้ชื่อว่า 'คีตาญชลี' อีก 1 ปีถัดมาขณะที่อายุได้ 52 ปี ราชบัณฑิตยสถานแห่งสวีเดนได้ประกาศจากกรุงสตอกโฮล์ม ว่าผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปี คือ รพินทรนาถ ฐากุร จากบทประพันธ์คีตาญชลี ท่านเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้

ผลงานของรพินทรนาถ อันเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป อาทิ คีตาญชลี บทกวีจันทร์เสี้ยว บทละครเรื่องจิตรา เพลงชาติอินเดีย เรื่องสั้นราชากับรานี เรื่องสั้นนายไปรษณีย์ พระกรรณะกับนางกุนตี ฯลฯ

นอกจากนี้ท่านยังได้ตั้งโรงเรียนศานตินิเกตัน ซึ่งหมายถึงสถานที่แห่งความสงบ โดยสอนแบบครูสัมพันธ์กับศิษย์เหมือนพ่อกับลูก อีก 21 ปีต่อมา จึงได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยโดยใช้ชื่อว่า 'วิศวภารตี' หมายถึง สถานอันเป็นที่พักพิงแห่งโลก

รพินทรนาถไม่เห็นด้วยกับจักรวรรดินิยมอังกฤษ เขาให้การสนับสนุนต่อแนวคิดกู้ชาติอินเดีย แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่เอ่ยออกมาโดยตรงและค่อนข้างระมัดระวังตัว การแสดงออกของเขาเริ่มด้วยการบอกว่า จักรวรรดิอังกฤษไม่ได้เป็นผู้ชั่วร้าย เพียงแต่เป็น "โรคเรื้อรังทางการเมืองต่อสังคมของเรา" เขากระตุ้นเตือนชาวอินเดียให้รับรู้ว่า "ไม่ควรมีคำถามกับการปฏิวัติอย่างมืดบอด แต่ควรมีการศึกษาที่มีเป้าหมาย"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301